วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

Gap-fill exercise

Fill in all the gaps, then press "Check" to check your answers. Use the "Hint" button to get a free letter if an answer is giving you trouble. You can also click on the "[?]" button to get a clue. Note that you will lose points if you ask for hints or clues!

เทศกาลแห่งรุ่งอรุณแรกของปี
(ประเทศเวียดนาม)
เต๊ดเหวียนดาน หรือเทศกาลแห่งรุ่งอรุณแรกของปี ที่ชาวเวียดนามนิยมเรียกกันสั้นๆ ว่าเทศกาลเต๊ด โดยจะเริ่มขึ้น 1 สัปดาห์
ก่อนจะถึงวันขึ้นปีใหม่ตามจันทรคติ ซึ่งอยู่ระหว่างช่วงปลายเดือนมกราคมถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ ในวันขึ้น 15 ค่ำ
ของวันที่ดวงอาทิตย์อยู่ไกลเส้นศูนย์สูตรมากที่สุดในฤดูหนาว กับวันที่กลางวันยาวเท่ากับกลางคืนในช่วงฤดูใบไม้ผลิ
เทศกาลนี้เป็นการเฉลิมฉลองในภาพรวมทั้งหมดของความเชื่อในเทพเจ้าลัทธิเต๋า และขงจื๊อ ศาสนาพุทธ รวมถึงการเคารพ


งานประจำปีริมแม่น้ำ
(ประเทศสิงค์โปร์)
งานประจำปีริมแม่น้ำ Singapore River Hong Bao ที่มีการแสดงพลุและดอกไม้ไฟ และการแสดงวัฒนธรรมต่างๆ โดยจัดที่แม่น้ำสิงคโปร์ และอ่าว Marina
ในช่วง ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเดินเล่นและร่วมเฉลิมฉลองเทศกาลนี้ร่วมกับชาวสิงคโปร์ได้


เทศกาลสงกรานต์
(ประเทศไทย)
เป็นเทศกาลวันสิ้นปีเก่าของคนไทย สงกรานต์ถือเป็นประเพณีการเฉลิมฉลองวันขึ้นปีใหม่ของไทยที่ยึดถือปฏิบัติมาแต่โบราณกาล
ดังนั้นช่วงสงกรานต์จึงเป็นวันแห่งความเอื้ออาทร ความรัก ความผูกพัน ที่มีต่อกันทั้งครอบครัว ชุมชน สังคม และศาสนา
ในความเชื่อดั้งเดิมที่ใช้สัญลักษณ์เป็นองค์ประกอบหลักในพิธี ได้แก่ การใช้น้ำเป็นตัวแทนแก้กันกับความหมายของฤดูร้อน ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ
ใช้น้ำรดให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น และขอพรจากบิดามารดา ปู่ย่าตายาย


วัฒนธรรมประเพณี
(ประเทศอินโดนีเซีย)
ไทยและอินโดนีเซียถือได้ว่ามีศิลปวัฒนธรรมและความเชื่อที่คล้ายคลึงกันในหลายด้าน เช่นการใช้ครุฑ เป็นตราแผ่นดิน
เนื่องมาจากได้รับอิทธิพลทางด้านศาสนาพราหมณ์ฮินดูเหมือนกัน แต่ภายในระยะหลังอินโดนีเซียได้มีการปรับตราสัญลักษณ์
ให้มีลักษณ์คล้ายกับนกมากกว่าเทพ เนื่องจากเกรงว่าจะกระทบต่อความชื่อของซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ในประเทศ
รวมถึงความเชื่อในมหากาพย์รามเกียรติ์หรือรามายนะ เนื่องมาจากอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ฮินดู


การทำบุญข้าวประดับดิน
(ปรเทศลาว)
การทำบุญข้าวประดับดิน เป็นประเพณีหนึ่งในฮีตสิบสอง นิยมทำกันในวันแรม 14 ค่ำ เดือนเก้า หรือที่เรียกว่า
บุญเดือนเก้า บุญข้าวประดับดิน เป็นบุญที่ทำเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ (ชาวอีสานบางถิ่นเรียก เผต)
หรือญาติมิตรที่ตายไปแล้ว ข้าวประดับดิน ได้แก่ ข้าวและอาหารคาวหวาน พร้อมหมากพลู บุหรี่ที่ห่อด้วยใบตอง กล้วย
นำไปวางไว้ตามใต้ต้นไม้ แขวนไว้ตามกิ่งไม้ ตามบริเวณกำแพงวัดบ้าง(คนอีสานโบราณเรียกกำแพงวัดว่า ต้ายวัด
) หรือวางไว้ตามพื้นดิน เรียกว่า "ห่อข้าวน้อย" พร้อมกับเชิญวิญญาณของญาติมิตร นำภัตตาหารไปถวายแด่พระภิกษุ สามเณร
แล้วอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ตาย โดยหยาดน้ำ (กรวดน้ำ) ไปให้ด้วยการที่ชาวบ้านนำข้าวปลาอาหาร ไปวางไว้ตามข้างวัดบ้าง ข้างกำแพงบ้าง
ผูกไว้ตามกิ่งไม้บ้าง ด้วยเข้าใจว่า ญาติที่ได้รับการปลดปล่อยจากนรก จะได้มากินในวันเดือนดับนี้ จะเป็นไปได้หรือไม่นั้น เป็นเรื่องเหลือวิสัยที่จะชี้ตรงๆ
ว่า ญาติเขาเหล่านั้นจะได้รับจริงหรือไม่ แต่สิ่งที่แน่นอนที่สุดก็คือเป็นการให้อาหารแก่สัตว์จรจัด สัตว์บางจำพวกที่ไม่มีเจ้าของเลี้ยงดู บางวันได้กินอาหาร
บางวันก็ไม่ได้กิน อดโซหิวโหยมาตลอดปี ได้กินอิ่มก็ในวันนี้ นับว่าเป็นความฉลาดน่าชมเชย ของบัณฑิตผู้บัญญัติลักษณะการทำบุญข้าวประดับดินนี้อย่างมากทีเดียว
พระสงฆ์เป็นเนื้อนาบุญ มีเรื่องมากมายที่ท่านกล่าวไว้ในพระสุตตันตปิฎก โดยเฉพาะในธรรมบทขุททกนิกาย ธัมมปทัฎฐกถา ภาค 2 เรื่องมัฏฐกุณฑลี
พระพุทธเจ้าทรงตรัสแก่มัจฉริยพรหมณ์ พ่อของมัฎฐกุณฑลี เมื่อมัฎฐกุณฑลีลูกชายมีชีวิตอยู่ป่วยลง พ่อไม่ยอมรักษาเพราะกลัวเงินหมด แต่พอมัฏฐกุณฑลี
ผู้ลูกชายตายแล้ว พ่อเอาทั้งข้าวทั้งของไปกองให้ลูกแล้วร้องไห้อาลัยหาในป่าช้าบ่นเพ้อให้ลูกมาเอาของ


วัฒนธรรมประเพณี
(ประเทศบรูไน)
รูปแบบวัฒนธรรม เช่น ภาษา อาหาร ศาสนาของชาวบรูไน มีความคล้ายคลึงกับและอินโดนีเซียอย่างมาก
การทักทายกันของชาวบรูไนจะเป็นการจับมือกันเบาๆ สำหรับผู้หญิงนั้นต้องไม่ยื่นมือให้ผู้ชายจับก่อน ประเทศบรูไนมีการเปิดโอกาสให้สตรีมีบทบาท
ในสังคมค่อนข้างน้อย และเป็นประเทศที่นับถือศาสนาอิสลามจึงถือจารีตทางศาสนาค่อนข้างเคร่งครัดการแต่งกายของผู้หญิงบรูไนจะแต่งกายมิดชิด
โดยสวมเสื้อแขนยาว กระโปรงยาว และมีผ้าคลุมศีรษะ ตามหลักทางศาสนาอิสลาม ควรหลีกเลี่ยงสีเหลือง เพราะถือเป็นศรีของพระมหากษัตริย์
การรับประทานอาหารควรหลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อหมูและการดื่มแอลกอฮอล์ด้วย


เทศกาลดิปาวาลี
(ประเทศมาเลเซีย)
เทศกาลดิปาวาลี หรือเทศกาลดิวาลี เป็นเทศกาลที่สำคัญที่สุดของชาวฮินดู ซึ่งเทศกาลนี้มีความเกี่ยวข้องกับ ดังนั้นจึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่าเทศกาลแห่งแสงสว่าง
หรืออีกนัยหนึ่ง คือวันปีใหม่ตามจันทรคติของอินเดีย ปกติอยู่ในช่วงระหว่างเดือนตุลาคม - พฤศจิกายน ซึ่งแต่ละชุมชนจะมีวันฉลอง 5 วัน หรือ 7 วัน แตกต่างกันออกไป
ในวันเทศกาลบ้านทุกหลังจะจุดบูชาไฟโดยใช้ตะเกียงดินเผาใบเล็กทำเป็นภาชนะ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการต้อนรับผู้มาเยือน


เทศกาลน้ำ
(ประเทศกัมพูชา)
เทศกาลน้ำเป็นเทศกาลที่ยิ่งใหญ่ของ โดยงานจะถูกจัดขึ้นตั้งแต่วันขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ จนถึงแรม 1 ค่ำ
ในเดือนพฤศจิกายนของทุกปี เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระคุณของแม่น้ำที่นำความอุดมสมบูรณ์มาให้
ภายในงานจะมีการแข่งเรือยาว การแสดงพลุดอกไม้ไฟ การแสดงขบวนเรือประดับไฟ
เและขบวนพาเหรดบริเวณทะเลสาบโตนเลสาบ ซึ่งทุกเมืองในกัมพูชาจะร่วมฉลองเทศกาลนี้ถึง 3 วัน 3 คืนด้วยกัน
ดังนั้นทางการกัมพูชาจึงประกาศให้เป็นวันหยุดราชการ


เทศกาลชินูล็อก
(ประเทศฟิลิปปินส์)
ชินูล็อกเป็นเทศกาลประจำปีที่จัดขึ้นในที่สามของเดือนมกราคมที่เมืองเซบู
และอีกหลายเมืองที่อยู่ทางใต้ของฟิลิปปินส์ โดยเป็นเทศกาลที่เป็นการฉลองเพื่อรำลึกถึงนักบุญซานโต นินอย (Santo Nino)
รวมทั้งเป็นการฉลองที่ได้รับการยอมรับจากศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก
โดยเมนหลักของงานคือขบวนพาเหรดบนท้องถนนที่ผู้เข้าร่วมงานต้องใส่ชุดสีสดใสเต้นไปตามจังหวะของกลองแตรและฆ้องพื้นเมือง


ประเพณีปอยส่างลอง
(ประเทศพม่า)
ปอยส่างลองคือพิธีฉลองเป็นเวลา 3 วันของสามเณรในศาสนาพุทธ ซึ่งโดยปกติก็จะจัดให้มีขึ้นในช่วงปลายเดือนมีนาคม
หรือไม่ก็ต้นเดือนเมษายนของทุก ๆ ปี ที่จังหวัด ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือสุดของประเทศไทย
พิธีนี้เป็นวัฒนธรรมประเพณีของชาวฉานหรือไทใหญ่ (ชนกลุ่มน้อยชาวไทย ผู้ซึ่งอพยพมาจากทางเหนือของพม่าและตั้งถิ่นฐานอยู่ในแม่ฮ่องสอนเสียเป็นส่วนใหญ่)
ชาวไทใหญ่มีความเลื่อมใสศรัทธาในศาสนาพุทธมาก และเพื่อเป็นการสืบทอดประเพณีอันเก่าแก่ของพวกเขา เด็กหนุ่มอายุระหว่าง 7 ถึง 14 ปี จะบรรพชาเป็นสามเณรในช่วงระยะเวลาหนึ่ง
เพื่อศึกษาพุทธธรรมและเพื่อให้บิดามารดาได้บุญกุศลอีกด้วย แต่เป็นที่เชื่อกันว่าบางทีประเพณีนี้ก็จัดให้มีขึ้นเพื่อตามรอยเท้าเจ้าชายราหุล ผู้ซึ่งเป็นสามเณรองค์แรกในพุทธศาสนา
และเป็นพระโอรสของเจ้าชายสิทธัตถะ (พระพุทธเจ้า) เจ้าชายราหุลทรงสละโลกีย์วิสัย เพื่อดำเนินรอยตามคำสั่งสอนของพระบิดาประเพณีนี้หลากหลายไปด้วยสีสันและการแสดงมากมาย
ทำให้เป็นเหตุการณ์ที่น่าตื่นเต้นมากที่สุด ที่ดึงดูดให้ประชาชนทั่วทั้งจังหวัดมาเข้าร่วมพิธี แต่ก่อนที่จะถึงวันประเพณี เด็กชายจะต้องผมและอาบน้ำ แล้วจึงเจิมด้วยน้ำหอม แต่งกายด้วยเครื่องประดับ
เพชรพลอยเต็มยศ แต่งหน้าแต่งตาสวยงาน ซึ่งเราเรียกว่า “”แต่เช้าตรู่ในวันแรกของประเพณีนี้ การเฉลิมฉลองจะเริ่มด้วยขบวนแห่ไปรอบ ๆ เมือง ซึ่งในขบวนแห่นี้ก็จะประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีประเภทขลุ่ย
พิณ ซอ กลอง และฉิ่งฉาบ ในขบวนแห่ลูกแก้ว แต่ละคนจะมีผู้ติดตาม 3 คน กล่าวคือ คนหนึ่งแบกลูกแก้ว อีกคนหนึ่งกางร่มที่มียอดสูงประดับทองกันแดดให้ และคนที่สามคอยปกป้องเพชรพลอยของมีค่าต่าง ๆ
ลูกแก้วเหล่านี้จะถูกนำไปเยี่ยมญาติ ๆ และเพื่อน ๆ และแล้วก็ร่วมรับประทานอาหารรวมกัน หลังจากรับประทานอาหารแล้ว ญาติ ๆ และผู้สูงอายุก็จะใช้ด้ายสีขาวผูกข้อมือให้ลูกแก้ว
เพื่อป้องกันวิญญาณชั่วร้ายต่าง ๆ และแล้วพิธีวันแรกก็เป็นอันจบลงในวันที่สองขบวนแห่เดียวกันนี้ก็จะเริ่มทำกันอีก แต่คราวนี้ในขบวนแห่จะประกอบด้วยเครื่องสักการะ เพื่อถวายพระพุทธ
เครื่องจตุปัจจัยถวายพระสงฆ์ และมีม้าอันเป็นสัญลักษณ์แห่งพาหนะของเจ้าพ่อหลักเมืองในตอนเย็น หลังจากรับประทานอาหารแล้ว ก็จะมีพิธีทำขวัญและการสวดคำขวัญ เพื่อเตรียมตัวให้ลูกแก้ว ผู้ซึ่งจะเข้ารับการบรรพชาในวันรุ่งขึ้น
วันสุดท้ายจะเริ่มด้วยขบวนแห่ลูกแก้วไปยังวัด พอถึงวัด ลูกแก้วก็จะกล่าวคำขออนุญาตเพื่อบรรพชาจากพระเถระ เมื่อท่านอนุญาต ลูกแก้วก็จะกล่าวคำปฏิญาณตน แล้วจึงเปลี่ยนเครื่องแต่งกายเป็นผ้ากาสาวพัตร์สีเหลือง
และเป็นสามเณรอย่างสมบูรณ์ประเพณีปอยส่างลอง ดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวไทยเป็นจำนวนมาก และปัจจุบันนี้ก็เป็นที่นิยมในหมู่นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศอีกด้วย